พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นไม้ไว้ในหลายๆ พื้นที่ทั่วทั้งประเทศไทย

"ปลูกป่าเพื่อให้ราษฎรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นโดยให้ราษฎรในท้องที่นั้นๆเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อ
เป็นการสร้างความเข้าใจให้ราษฎรเห็นความสำคัญของป่า และการปลูกป่า ให้ชาวบ้านได้
ร่วมกิจกรรมตั้งแต่ต้น และควรมีประโยชน์จากกิจกรรมด้วย"

…..พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2527

จากพระราชดำรัสข้างต้นดังกล่าวทำให้เห็นได้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพ่อหลวงอันเป็นที่รัก
และเคารพยิ่งของปวงชนชาวไทย พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่ ทรงห่วงใยราษฎรของ
พระองค์ในทุกๆ เรื่อง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของป่าไม้ต้นไม้พระองค์ทรงตระหนักว่าป่าไม้นั้นมีความสำคัญต่อประเทศชาติ
เพียงใดเพราะหากมีการอนุรักษ์ป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ประชาชนก็สามารถใช้สอยหาประโยชน์
ทรัพยากรธรรมชาติจากป่าไม้ได้นานับประการ
ในหลวงทรงปลูกต้นหญ้าแฝก ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร
และครั้นหากจะให้กล่าวถึงต้นไม้ที่พระองค์ทรงปลูกไว้ก็คงจะกล่าวได้ไม่หมดจึงขอหยิบยกต้นไม้
ของพ่อที่น่าสนใจมาในบางสถานที่
 
ต้นสนฉัตร"สัญลักษณ์รักนิรันดร์ที่ อุทยานแห่งชาติแม่โถ

"อุทยานแห่งชาติแม่โถ" จ.เชียงใหม่ ถือว่าเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มาแรงในทางภาคเหนือ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สวยงามแวดล้อมไปด้วยธรรมชาติขุนเขาอันบริสุทธิ์ และที่อุทยานแห่งชาติแม่โถ ยังเป็นที่ตั้งของ
"
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่โถ"อันเป็นหนึ่งในโครงการจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อีกด้วย
       
ซึ่ง หากใครได้เดินทางมาเที่ยวภายในอุทยานฯ และได้พักที่บ้านพักในอุทยานในบริเวณใกล้ๆ กับบ้านนั้น จะเห็นว่ามีต้นสนฉัตร 2 ต้น ยืนต้นสูงตระหง่านผลิดอกออกใบแผ่กิ่งก้านสาขา ซึ่งต้นสนนี้มีความสำคัญ
เป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นต้นสนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ ทรงปลูกไว้เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2523

นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ที่เดินทางมาเที่ยวณอุทยานแห่งชาตินี้ในบางครั้งมักเลือกที่จะกางเต็นท์นอนใต้
ร่มเงาของต้นสน2ต้นที่ยืนหยัดคู่กันนี้เพราะถือว่าได้เป็นการซึมซับเอาร่องรอยของวันวานในวันที่ในหลวง
ทรงเคยเหยียบย่างมาณบริเวณนี้โดยเฉพาะหนุ่มสาวมักจะยึดถือเชื่อกันว่าหากได้มานอนอยู่ใต้ต้นสนคู่นี้
ความรักจะสุขสมหวังนิรันดรดั่งสัญลักษณ์ต้นสนคู่นี้ที่ยืนต้นเคียงคู่กันตลอดไปตราบนานเท่านาน

 
ต้นมะม่วงและหญ้าแฝก" ต้นไม้ทรงปลูก ที่ศูนย์ศึกษาฯห้วยฮ่องไคร้
       
       จากอุทยานแห่งชาติแม่โถ พามากันที่ "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้" อ. ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่เป็นหนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท
ี่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาทดลอง วิจัย ศึกษา
สภาพพื้นที่ป่าไม้ต้นน้ำลำธารการประมงเกษตรกรรมด้านปศุสัตว์และโคนมและด้านเกษตรอุตสาหกรรม
เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรที่จะเข้ามาศึกษากิจกรรมต่างๆ ภายในศูนย์ฯ แล้วนำไปใช้ปฏิบัติ
ได้ผลจริง
       
หากเมื่อได้มาเที่ยวภาย ในศูนย์ฯ นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับธรรมชาติอันพิสุทธิ์และได้พบกับองค์
ความรู้มาก มายเกี่ยวกับโครงการต่างๆ และที่สำคัญต้องไม่พลาดไปชมต้นไม้ที่ในหลวงทรงปลูกไว้
ซึ่งพระองค์ทรงปลูกต้นมะม่วงพันธุ์"พิมเสนมัน" ไว้บริเวณหน้าเรือนเพาะชำกล้าไม้โตเร็ว เมื่อวันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2527 และก็ยังได้ทรงปลูกต้นหญ้าแฝกไว้ ณ บริเวณพื้นที่แปลงมะขามหวาน เมื่อวันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2535 อีกด้วย
โดยทุกวันนี้ศูนย์ศึกษาฯ ห้วยฮ่องไคร้ได้ทำหน้าที่ เป็นดั่ง "พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ"ที่มีชีวิตสำหรับทุกคนและก็กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจสำหรบผู้ที่ชื่นชอบธรรมชาติและ
ใคร่ศึกษาหาความรู้พร้อมกับได้สัมผัสถึงน้ำพระทัยอันยิ่งใหญ่ ที่ในหลวงทรงมีต่อพสกนิกรของพระองค์
 
ต้นจันทน์ 2 ต้น ปลูกอยู่ที่หน้าหอพระไตรปิฎกวัดระฆัง
"ต้นจันทน์" แผ่กิ่งก้านให้ร่มเงา ที่วัดระฆัง
       
จากภาคเหนือมากันที่กรุงเทพฯข้ามแม่น้ำเจ้าพระยามายังฝั่งธนบุรีเพื่อมายัง
"วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร"
(วัดระฆัง)วัดเก่าแก่ที่สร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่ในหลวงทรงเสด็จมาปลูกต้นไม้ไว้ที่นี่
       
สำหรับต้นไม้ที่พระองค์ทรงปลูกไว้เป็น"ต้นจันทน์" ทรงปลูกไว้เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2514 และข้างๆ กันยังมีต้นจันทน์อีกหนึ่งต้นที่ปลูกโดยสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ซึ่งต้นจันทน์ทั้ง 2 ต้นนี้ ปลูกอยู่ตรงบริเวณด้านหน้าตำหนักจันทน์ หรือ หอพระไตรปิฎก
       
ซึ่งหอไตรปิฎกแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวยังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานเงินทุน
ในการบูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2511 เนื่องจากทรุดโทรมลงมากและหอพระไตรปิฎกยังได้รับ
การซ่อมแซมครั้งใหญ่เมื่อคราวฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี และยังเคยได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี 2530 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย
       
เรียก ว่าหากใครที่เดินทางมายังวัดระฆังแล้ว นอกจากจะมาทำบุญกราบไหว้พระขอพรจากองค์หลวงพ่อโตสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) กันแล้ว ก็ลองเดินมาชมความงามของต้นจันทน์ ที่ยืนต้นเด่นเป็นสง่าแผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาครึ้มดูอบอุ่นเปรียบประดุจได้ดั่งน้ำพระทัยจากในหลวงที่แผ่
มาถึงพสกนิกรชาวไทย
 
"ต้นจามจุรี" เป็นศรีสง่าและศิริมงคลแก่ชาวจุฬาฯ

ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๐๕ พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน ๕ ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน ๓ ต้น ด้านซ้ายจำนวน ๒ ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล"

ต้มจามจุรีพระราชทานทั้ง ๕ ต้นนี้ จึงยืนอยู่แข็งแรง เป็นศรีสง่าและศิริมงคลแก่ชาวจุฬาฯ มาจนถึงปัจจุบันและในอนาคตสืบไป และเนื่องในมหามงคลวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเถลิงถวัลย์สิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี จุฬาฯ จึงตกแต่งลานจามจุรีพระราชทานเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเฉลิมพระเกียรติ กาญจนาภิเษก และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดลานจามจุรีพระราชทานเมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๓๙ เพื่อให้ลานจามจุรีพระราชทานนี้เป็นสิ่งเตือนใจให้ชาวจุฬาฯ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเชื่อมั่นว่าลานจามจุรีพระราชทาน จะเป็นอนุสรณ์สถานแห่งหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่ร้อยรัดความสามัคคีของชาวจุฬาฯ ตลอดไป

 
"ต้นยูงทอง" ต้นไม้แห่งความปลาบปลื้มของชาวธรรมศาสตร์
และนอกเหนือจากแหล่งท่องเที่ยวทั้งหลายแล้วยังมีสถาบันการศึกษาอันเก่าแก่และมีชื่อเสียงของ
ประเทศไทยอย่างที่"มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ตรงท่าพระจันทร์ ถือว่าเป็นสถาบันที่มีต้นไม้
พระราชทานจากองค์ในหลวงอีกแห่งหนึ่ง
       
สำหรับต้นไม้พระราชทานนั้น เป็นต้นหางนกยูงฝรั่ง หรือที่ชาวธรรมศาสตร์เรียกว่า"ต้นยูงทอง"
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ มาทรงปลูกไว้ที่หน้าหอประชุมใหญ่จำนวน 5 ต้น เมื่อ
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 เวลา 14.30 น. พร้อมกับทรงพระราชทานให้เป็นต้นไม้สัญลักษณ์์ของ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะสีของดอกหางนกยูงนั้น มีสีสอดคล้องกับสีประจำมหาวิทยาลัยคือ
สีเหลือง-แดง
       
และในปีพ.ศ.2507 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทำนองเพลง
พระราชนิพนธ์ "ยูงทอง" ให้เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อมานายจำนง ราชกิจ
ข้าราชสำนักได้แต่งเนื้อร้อง และกลายเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
       
ซึ่ง ทั้งต้นยูงทอง ต้นไม้ที่องค์ในหลวงทรงปลูกด้วยพระองค์เอง และเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ทำให้
เหล่าชาวธรรมศาสตร์มีความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระองค์ทรงเป็น
พระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมล้นไปด้วยน้ำพระทัย ที่แผ่ไพศาลไปทั่วแผ่นดิน
ต้นยูงทอง ในหลวงทรงปลูกไว้ที่หน้าหอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
 
"ต้นนนทรี" สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกต้นนนทรี จำนวน ๙ ต้น ณ บริเวณหน้าหอประชุม มก. เมื่อวันที่๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๐๖ เวลา
๑๕.๓๐ น. นับเป็นวันประวัติศาสตร์นนทรีทรงปลูกที่ชาวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต้องจารึกไว้ในดวงจิตอย่างไม่มีวันลืม
 
"ต้นมะม่วง" ในพระมหาชนก คำสอนของพ่อผ่านงานวรรณกรรม

จาก เรื่องราวของต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยได้รับรู้ถึงความสำคัญของต้นไม้แล้วนั้น
พ่อหลวงของเรายังได้ปลูกต้นไม้แห่งความคิดให้ไว้กับประชาชนขาวไทยอีกด้วยดังจะเห็นได้จากเรื่อง
ของ "ต้นมะม่วง"ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพระราชนิพนธ์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ
เรื่อง "พระมหาชนก"
       

โดย เนื้อหาในเรื่องนั้นได้กล่าวถึงตอนที่ พระมหาชนกเสด็จทอดพระเนตรพระราชอุทยานในกรุงมิถิลา
ซึ่งทางเข้าสวนหลวงมีต้นมะม่วงอยู่สองต้นต้นหนึ่งมีผลดกอีกต้นหนึ่งไม่มีผลและพระองค์ก็ได้ทรงลิ้ม
รสมะม่วงอันโอชาแล้วเสด็จกลับเยี่ยมอุทยานครั้นเมื่อเสด็จกลับออกจากสวนหลวงทรงทอดพระเนตรเห็น
ต้นมะม่วงที่มีผลรสดีต้นนั้นถูกเหล่าข้าราชบริพารดึงทึ้งเก็บลูกมะม่วงกินจนโค่นลงส่วนต้นที่ไม่มีลูกก็ยังคง
ตั้งอยู่ตระหง่านอยู่เช่นเดิมซึ่งจากเหตุการณ์นี้แสดงให้เห็นว่า"สิ่งใดดีมีคุณภาพจะเป็นเป้าหมายของ
การยื้อแย่งและจะเป็นอันตรายในท่ามกลางผู้ที่ขาดปัญญา"
ซึ่งในหลวงทรงหยิบยกมาเป็นคำสอน
เพื่อให้คนไทยทุกคนได้นำไปใช้เป็นคติสอนใจในการดำเนินชีวิต

และเรื่องราวของต้นมะม่วงไม่ได้มีแต่ในแง่ของงานวรรณกรรมที่พระองค์ทรงพระ ราชนิพนธ์เท่านั้น
ยังมีเรื่องราวของต้นมะม่วงที่มีความน่าสนใจ ในแง่ที่ว่าพระองค์ทรงให้ความสำคัญและสนพระทัยกับ
เรื่องราวเล็กๆน้อยๆ อย่างเรื่องของ "ต้นมะม่วง" ที่ปลูกอยู่ที่ "วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ราชวรมหาวิหาร"
(วัดโพธิ์)
       
สำหรับ เรื่องราวของต้นมะม่วงนี้กล่าวกันว่าเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครั้งยังทรงพระเยาว์
พระองค์ทรงเสด็จมาที่วัดโพธิ์แล้วมีต้นมะม่วงต้นหนึ่งปลูกอยู่และครั้นเมื่อพระองค์เจริญพระชันษาขึ้น
พระองค์ได้เสด็จกลับมาที่วัดโพธิ์อีกครั้งแล้วทรงทอดพระเนตรไม่เห็นต้นมะม่วงต้นดังกล่าวพระองค์ทรง
ตรัสถามถึงต้นมะม่วงต้นนั้นซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าต้นมะม่วงต้นนั้นทางวัดได้ตัดโค่นทิ้งไปแล้ว
       
พอ หลังจากที่พระองค์ทรงได้ถามถึงต้นมะม่วงในครั้งนั้นทางวัดจึงได้ทำการปลูกต้นมะม่วงต้นใหม่ขึ้นมา
ณ บริเวณเดิมที่พระองค์ทรงตรัสถามถึง ซึ่งทุกวันนี้ต้นไม้มะม่วงต้นนั้นก็ได้เจริญเติบโตแผ่กิ่งก้านสาขา
ให้ร่มเงา และความร่มรื่นอยู่ภายในวัดโพธิ์ ตรงบริเวณหน้าวิหารพระพุทธไสยาสน์ และกลายเป็นต้นไม้ที่
ให้ความร่มเย็นเป็นที่นั่งพักผ่อนแก่นักท่องเที่ยวที่ มาเที่ยวภายในวัดโพธิ์ได้เป็นอย่างดี

 
ต้นราชพฤกษ์ ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนเนินราชพฤกษ์ที่งานพืชสวนโลก
"ราชพฤกษ์" ต้นไม้เฉลิมพระเกียรติในหลวง
       
และนอกจากต้นไม้ที่ในหลวงทรงปลูกแล้วในทางกลับกันหากย้อนถามว่ามีต้นไม้อะไรที่ปวงชนชาวไทย
ปลูกถวายเฉลิมพระเกียรติแด่องค์ในหลวงบ้างแล้วล่ะก็เห็นจะเป็นต้นไม้ต้นนี้ที่มีชื่อว่า"ต้นราชพฤกษ์"
ต้นไม้มงคลที่มีอายุยืนทนทานปลูกขึ้นได้ดีทั่วทุกภาคของประเทศและเมื่อถึงฤดูร้อนต้นราชพฤกษ์จะออก
ดอกสีเหลืองบานสะพรั่งเต็มต้น ช่อดอกเป็นพวงระย้าสวยงามมาก
       
ซึ่งต้นราชพฤกษ์นี้ยังถือว่าเป็นต้นไม้ประจำชาติส่วนดอกราชพฤกษ์ก็เป็นดอกไม้ประจำชาติและที่ถือว่า
เป็นต้นไม้เฉลิมพระเกียรติในหลวง ก็เนื่องมาจากว่าเมื่อปีพ.ศ.2530 เป็นปีเนื่องในวโรกาสทรงเจริญ
พระชนมพรรษาครบ 5 รอบ 60 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางรัฐบาลจึงได้เลือกต้น
ราชพฤกษ์ เป็นต้นไม้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เหตุเพราะดอกของต้นราชพฤกษ์นั้น
มีสีเหลือง ซึ่งเป็นสีเดียวกับวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จึงได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนชาวไทยปลูกต้นราชพฤกษ์ขึ้นทั่วประเทศจำนวน กว่า 99,999 ต้น จนทำให้ทุกวันนี้มีต้นราชพฤกษ์ถูกปลูกอยู่มากมายทั่วประเทศไทย
       
สำหรับความสำคัญของ "ต้นราชพฤกษ์"นี้ยังได้ไปปรากฏเป็นสัญลักษณ์อยู่ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่จัดขึ้นที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 1 พ.ย.49-31 ม.ค. 50 แห่งนี้ด้วย ซึ่งต้นราชพฤกษ์นี้ มีหมายความถึงในหลวงของปวงชนชาวไทย ที่ทรงเป็นนักเกษตรเอกพระองค์หนึ่งของโลก
       
หากใครมี โอกาสได้เดินทางไปเที่ยวงานราชพฤกษ์ 49 ก็สามารถไปชมความงามของต้นราชพฤกษ์ ที่ถูกปลูกตั้งตระหง่านโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บน "เนินราชพฤกษ์" เนินที่อยู่หน้าทางเข้างานราชพฤกษ์เลย ถือว่าเป็นหนึ่งในไฮไลท์ของงานที่ไม่ควรพลาดชม